สายไฟฟ้าในบ้าน
สายไฟฟ้า(Cable wire) มีความสำคัญอย่างมากในการส่ง หรือจ่ายไฟฟ้าให้กับบ้านเรือน อุปกรณ์ไฟฟ้า หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านพักของคุณ ซึ่งมีความซับซ้อนอยู่พอสมควรหากคุณไม่ใช่ช่างฟ้าที่มีความรู้เรื่องนี้มากพอสมควร ดังนั้นการเลือกซื้อสายไฟฟ้าเพื่อมาติดตั้งในบ้านพักของประชาชนทั่วไปนั้น อาจจะทำให้ได้สายไฟฟ้าที่มีขนาดใหญ่เกินความจำเป็นสำหรับการส่งกระแสไฟฟ้าเพื่ออุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน หรือมีขนาดเล็กจนไม่สามารถทนกระแสที่มีมากกว่าความสามารถของสายไฟฟ้านั้นจะรับได้ และอาจจะเกิดความร้อนขึ้นที่สายไฟฟ้าจนทำให้ฉนวนที่หุ้มสายไฟฟ้าทั้ง 2เส้นนั้นละลายออก จากนั้นสายทองแดงหรืออลูมิเนียมจะเกิดการลัดวงจรเมื่อสัมผัสโดนกัน และเกิดประกายไฟที่อาจจะทำเกิดไฟไหม้ได้
สายไฟฟ้ามีหน้าที่สำหรับนำพลังงานไฟฟ้า จากแหล่งจ่ายไฟไปยังบริภัณฑ์หรือ ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าต่างๆ ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ผลิตสายไฟฟ้าขึ้นมากมายหลายชนิดตามความต้องการในรูปแบบต่างๆ เช่น สายไฟฟ้าเมนTHW สายเดี่ยวTHW สายไฟVCT สายไฟบ้านVAF สายไฟVSF สายไฟNYY สายไฟNYY-Ground สายไฟVAF-Ground สายไฟฟ้าบ้านปกติ สายไฟฟ้าฝังดิน สายไฟฟ้าอ่อนใช้ฝังดิน โดยผู้ใช้จะต้องพิจารณาปัจจัยหลายประการด้วยกัน เช่นน ความเหมาะสมด้านสภาพแวดล้อมที่ตั้ง ความสามารถในการนำกระแสของตัวนำ ตัวนำสายไฟทองแดง ตัวนำสายไฟอลูมีเนียม ขนาดแรงดันตกที่เกิดขึ้น ความสามารถในการทนต่อความร้อนที่เกิดขึ้นทั้งในขณะใช้งานปกติและขณะเกิดการลัดวงจร
สายไฟฟ้าประกอบด้วยส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วนได้แก่ ตัวนำและฉนวน
ตัวนำของสายไฟทำมาจากโลหะที่มีความนำไฟฟ้าสูง อาจจะอยู่ในรูปของตัวนำเดี่ยว Solid หรือตัวนำตีเกลียว Strand ซึ่งประกอบไปด้วยตัวนำเล็กๆ ตีเข้ากันเป็นเกลียวซึ่งมีข้อดีคือ การนำกระแสต่อพื้นที่สูงขึ้น และสามารถเดินสายไฟได้ง่ายมีความอ่อนตวกว่า โลหะที่นิยมนำมาทำเป็นตัวนำสายไฟได้แก่ สายไฟทองแดง และสายไฟอลูมีเนียม
สายไฟทองแดง มีความแข็งแรง เหนียว ทนต่อการกัดกร่อนได้ดี แต่มีข้อเสียคือ สายไฟทองแดงมีน้ำหนักมาและสายไฟทองแดงราคาสูง ไม่เหมาะกับงานด้านแรงดันสูง เหมาะกับการใช้งานโดยทั่วไปโดยเฉพาะงานในอาคาร
สายไฟอลูมีเนียม อะลูมีเนียม เป็นสายไฟที่สามารถนำไฟฟ้าได้สูงรองลงมาจากสายไฟทองแดง แต่เมื่อเปรียบเทียบในกรณีกระแสเท่ากันแล้ว พบว่าอะลูมีเนียมน้ำหนักเบากว่าและราคาถูกกว่า เหมาะกับการเดินสายไฟภายนอกอาคาร แต่ข้อเสียคือ สามารถเชื่อมต่อกันได้ยากลำบาก
หรือการเลือกสายไฟฟ้าที่ไม่เหมาะสมในการใช้งานกับอุปกรณ์นั้นๆ หรือในสภาพแวดล้อมนั้น ซึ่งสายไฟฟ้านั้นมีหลายกหลายประเภทที่ผลิตออกมาเพื่อตอบสนองการใช้งานที่แตกต่างกัน ซึ่งในที่นี่ขอยกตัวอย่างสายไฟฟ้าที่นิยมใช้งานสำหรับนำส่งกระแสไฟฟ้าไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆในบ้านเรือนทั่วไป เพื่อที่ท่านจะได้รู้จักชนิดของสายไฟฟ้า
สายไฟฟ้า THW เป็นสายฟ้าที่ทนแรงดันไฟฟ้าได้มากถึง 750โวลต์(แล้วแต่ขนาด) มีฉนวนพีวีซีหุ้ม 1ชั้น และเป็นสายเพียงเส้นเดียว การติดตั้งต้องร้อยเข้าไปในท่อร้อยสายไฟฟ้าอีกทีหนึ่งเพื่อป้องกัน กรณีที่ต้องการฝังท่อในผนังคอรกรีตหรือเดินบนฝ้าเพดาน สาย THW นี้ไม่แนะนำให้ติดตั้งนอกอาคารหรือฝังใต้ดินโดนให้สายสัมผัสกับดินหรืออากาศโดยตรง จะต้องร้อยเข้าไปในท่อไฟฟ้าก่อนเท่านั้น
สายไฟฟ้า VAFเป็นสายไฟฟ้าที่สามารถทนแรงดันไฟฟ้า 300 โวลต์(ไฟตามบ้านเรามีแรงดัน 220โวลต์) เป็นสายที่มี 2เส้น หรือ 3เส้น ในสายเส้นเดียว หุ้มด้วยฉนวนพีวีซี 2ชั้น สำหรับการติดตั้งภายในอาคารเท่านั้น ไม่ควรนำสาย VAFไปติดตั้งนอกอาคาร หรือฝังใต้ดิน เด็ดขาดครับเพราะฉนวนที่หุ้มสาย VAF นี้ไม่สามารถทนต่อสภาพอากาศ แสดงดิน หรือสารอินทรีย์ที่อยู่ในดินได้นาน ที่เราสามารถเห็นได้โดยท่อไปที่ติดตั้งกับผนังหรือเพดานบ้านด้วยเข็มขัดรัดสาย หรือ Clip รัดสาย
สายไฟฟ้า VCT เป็นสายไฟฟ้าที่สามารถฝังใต้ดิน หรือติดตั้งนอกอาคารได้ เช่นใช้สำหรับสายโคมไฟฟ้าในสวนหน้าบ้าน หรือสายไฟฟ้าที่จ่ายไปยังปั๊มน้ำรดน้ำต้นไม้ก็สามารถทำได้ เช่นกัน เป็นสายอ่อนที่มีฉนวนหุ้ม 2ชั้น และฉนวนชั้นนอกเป็นสามารถทนต่อสภาพอากาศ แรงสั่นสะเทือนได้ดี ทนแรงดันไฟฟ้าได้มาถึง 750โวลต์
สาย CVV คือ สายส่งกำลังระบบควบคุม หุ้มด้วยฉนวน และเปลือกนอก พีวีซี แรงดัน 600 โวลต์ อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส มีทั้งแบบมีชิลด์ CVV-S และไม่มีชิลด์CVV-F
การเลือกและคำนวณขนาดของสายไฟฟ้าแต่ละชนิดนั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการใช้งานกระไฟฟ้า ของบ้านแต่ละหลังว่าต้องการใช้กระแสไฟฟ้าสูงสุดนั้นเท่าไหร่ และสำหรับวงย่อยภายในบ้านต้องการกระแสไฟฟ้าเท่าไหร่ มีอุปกรณ์อะไรบ้าง แล้วเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าแบบไหน จึงจะสามารถบอกออกมาเป็นขนาดของสายไฟฟ้าในวงจรหลัก และวงจรย่อยนั้นๆได้ โดยทั่วไปแล้วเรียกความต้องการกระแสไฟฟ้านี้ว่า “โหลดไฟฟ้า” ซึ่งจะนำไปคำนวณเพื่อหาขนาดของสายไฟฟ้าต่อไป
#สาระเรื่องไฟฟ้า #่ช่างไฟ #ซ่อมไฟ #เดินสายไฟ #รับเหมางานไฟ #ช่างแว่น #แกลง
หาช่างไฟพื้นที่แกลง ระยอง
โทร 0849454211 (ช่างแว่น)
ติดต่อสอบถามเรียกใช้บริการได้ตลอด 24ชม.
ความคิดเห็น