การเลือกดาวไลท์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน
ควรต้องคำนึงถึงคุณลักษณะที่เหมาะสมของโคมไฟ พื้นที่ใช้งาน และประเภทของตัวหลอดไฟที่ใช้คู่กัน ซึ่งจะมีผลต่อประสิทธิภาพการใช้งานของทั้งตัวโคมและหลอดไฟ โดยโคม DOWNLIGHT ที่ใช้หลอดแบบ LED ก็จะให้ความสว่างมาก แต่จะกินไฟน้อย อายุการใช้งานก็จะยาวนานกว่าตั้งแต่ 20,000-50,000 ชั่วโมง เปิดปิดได้เท่าที่ต้องการโดยที่ไม่ต้องกลัวหลอดขาดเลยแม้แต่น้อย วิธีการเลือกโคมดาวน์ไลท์ในพื้นที่กว้างและมีเพดานที่สูงก็ควรเลือกโคมดาวน์ไลท์ขนาด 6 นิ้วขึ้นไป เพราะด้วยโคมขนาดใหญ่จะมีวงในการกระจายแสงออกไปที่กว้างกว่า ทำให้ไม่จำเป็นต้องติดหลายดวง ลดการเจาะฝ้าลงได้เป็นอย่างดี โดยที่ความสูงของฝ้าก็ก็มีผลต่อความเข้มและการกระจายออกของแสงไฟ เพราะถ้าติดในฝ้าเตี้ยจะทำให้แสงสว่างส่องตรงจุดและจะเป็นในมุมแคบ แต่ถ้าฝ้าสูงก็จะให้แสงสว่างเป็นมุมกว้าง และความเข้มของแสงจะลดลง
การให้แสงของโคมดาวน์ไลท์
โดยดูว่าโคมติดหลอดแนวตั้งแสงจะส่งด้านล่างเป็นมุมแคบ เหมาะสำหรับการเน้นสว่างเป็นเฉพาะจุดในห้องที่มีพื้นใต้ฝ้าที่ลึก โคมติดหลอดแนวนอนจะให้มุมแสงที่กว้าง สว่างเต็มแนวยาวของหลอดเหมาะสำหรับผู้ที่มีห้องใต้ฝ้าน้อย ส่วนโคมแบบกระจกจะให้แสงที่นุ่มนวล ไม่ทำให้แสบตาหรือแยงตา เหมาะกับการใช้งานในห้องน้ำที่มีความชื้นสูงและในห้องครัว นอกจากนี้ยังมีการเลือกผิวที่สะท้อนแสงแบบผิวเรียบมันวาว สามารถให้แสงสว่างอย่างเต็มที่ เหมาะสำหรับติดตั้งในบริเวณห้องทำงานหรือห้องครัว ส่วนในผิวเหลี่ยม พ่นทราย ให้แสงที่นุ่มนวล จึงเหมาะสำหรับการใช้งานในห้องนั่งเล่นหรือห้องนอน หรือผิวเหลี่ยมมันวาวที่ให้แสงจ้าเป็นประกาย โคมชนิดนี้เหมาะสำหรับการใช้ในร้านค้าหรือใช้ส่องโชว์สินค้า การใช้งานดาวน์ไลท์ให้สามารถมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น ควรให้มีระยะห่างจากพื้นใต้ฝ้าที่เหมาะสมคือ 10 ถึง 15 เซนติเมตร แต่ในกรณีพื้นที่ติดตั้งกลับมีพื้นใต้ฝ้าที่น้อย ควรเว้นระยะห่างอย่างน้อย 5-6 เซนติเมตร เพื่อช่วยในการระบายความร้อน เพื่อได้ช่วยยืดอายุการใช้งานของโคมดาวน์ไลท์ที่ยาวนานขึ้น
เทคนิคของการติดตั้งโคมไฟดาวน์ไลท์
ในห้องที่มีความสูง 2.5 เมตร ในห้องนอนควรติดตั้งโคมไฟดาวน์ไลท์ โดยเว้นระยะห่างทุก 1.5 เมตร ห้องทำงานก็ติดตั้งโดยเว้นระยะห่างทุก 0.8 เมตร และในห้องนั่งเล่นก็ต้องติดตั้งเว้นระยะห่างอยู่ที่ทุก 1 เมตร ขนาดของโคมไฟดาวน์ไลท์ กับขนาดของหลอดไฟก็เป็นเรื่องที่สำคัญ โดยขนาด 4 นิ้ว ควรใส่หลอดประหยัดไฟไม่เกิน 18 วัตต์ ดาวน์ไลท์ขนาด 5 นิ้ว ควรใส่หลอดประหยัดไฟไม่เกิน 23 วัตต์ และดาวน์ไลท์ขนาด 5 นิ้วขึ้นไป ให้ใส่หลอดประหยัดไฟตั้งแต่ 23 วัตต์ขึ้นไป การจับคู่ดาวน์ไลท์เช่นนี้จะทำให้โคมดาวน์ไลท์สวยงามและและให้แสงที่ลงตัวมากยิ่งขึ้น ก็จะหมดปัญหาเรื่องของหลอดไฟที่ยื่นออกมานอกตัวโคม และการเลือกใช้หลอดประหยัดไฟที่เหมาะกับตัวโคมจะทำให้การระบายความร้อนของหลอดไฟดียิ่งขึ้น ก็จะช่วยทั้งในเรื่องของประหยัดพลังงานและช่วยยืดอายุการใช้งานของหลอดไฟอีกด้วย
ปกติตัวโคมไฟดาวน์ไลท์ที่เป็นประเภทของไฟส่องสว่างลงสู่ด้านล่าง ที่สามารถให้แสงกระจายในจุดที่ส่องอย่างทั่วถึง ซึ่งเหมาะกับการส่องสว่างทั่วไป โดยมีรูปแบบหลักใน 4 แบบ คือ
โคมไฟส่องลงชนิดฝังฝ้า ดวงโคมจะเข้าไปฝังอยู่ในเพดานฝ้าทั้งหมด เวลาติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้วตัวหน้าโคมก็จะกลืนเรียบไปกับผนังของฝ้า
ดวงโคมชนิดแขวน จะเป็นโคมไฟที่มีสายห้อยลงมา และดวงโคมจะมีการออกแบบด้วยดีไซน์ที่เก๋ไก๋
ดวงโคมชนิดติดลอยเหมาะกับงานที่ไม่ได้ทำโครงฝ้า การยึดติดจึงลอยตัวและรูปทรงส่วนใหญ่มักจะเป็นแบบกระบอกไม้ไผ่ทรงกลม
ดวงโคมแบบกึ่งฝังกึ่งลอย ทำให้ฝ้าเพดานมีลูกเล่นที่มากยิ่งขึ้น ดูแปลกตาและลดข้อจำกัดของพื้นที่ใต้ฝ้าลงได้
ข้อควรคิดในการออกแบบโคมไฟดาวน์ไลท์
แนวทางที่สามารถจะนำมาใช้ร่วมกับหลอดประหยัดไฟคือ จะต้องเป็นดวงโคมที่สามารถเปิดใช้งานได้นาน เพราะต้องมีการใช้แสงสว่างเป็นหลัก และโคมไฟจะต้องเหมาะกับหลอดประหยัดไฟโดยเฉพาะ การวางตำแหน่งหลอดในโคมไฟนั้นมี 2 ลักษณะคือแบบติดตั้งในแนวนอน ซึ่งมีข้อดีคือการกระจายแสงออกจากดวงโคม จะได้พื้นที่ที่กว้างกว่าหลอดที่ติดตั้งในแนวดิ่ง และเหมาะสำหรับฝังในฝ้าที่มีช่องว่างในระหว่าเพดานที่คับแคบ แต่ก็ต้องระวังในเรื่องของการระบายความร้อน เพราะโคมในแบบนี้มักถูกสร้างมาแบบปิดทึบ ส่วนในการติดตั้งหลอดแบบแนวดิ่ง มีข้อดีตรงที่พื้นที่หน้าโคมที่เล็ก จึงสามารถระบายความร้อนออกจากทางด้านหลังได้ดีโคมได้ดี แต่ก็ต้องระวังในเรื่องของแสงแยงตาด้วย
จุดเด่นในการบังคับทิศทางแสง
โคมไฟดาวน์ไลท์บางประเภท เป็นการฝังหลอดไฟฟ้าไว้ในเพดาน โดยมีกล่องครอบหรือตัวกระบอกที่ยื่นออกมาเพื่อเป็นตัวสำหรับบังคับทิศทางของแสง ให้สามารถฉายไปตรงจุดที่ต้องการ ซึ่งอาจจะเลือกให้ส่องจากเพดานลงสู่พื้น หรือไปตกกระทบที่ฝาผนังก่อนแล้วค่อยลงสู่พื้นและในส่วนของขอบกระบอกที่ยาวออกมานั้นจะมีทั้งสีขาว ดำ ทองและเงินให้สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมกับตัวสถานที่หรือการตกแต่ง อีกทั้งยังสามารถสามารถบังคับแสงและปริมาณความเข้มของแสงได้ดีอีกด้วย โดยที่ดาวน์ไลท์ในบางแบบจะมีลักษณะที่คล้ายกับลูกตาสามารถกลอกไปในทิศทางใดก็ได้ ส่วนตัวหลอดไฟนั้นก็สามารถเลือกใช้ได้ตามที่ต้องการ เพราะมีหลอดแบบหลากหลายประเภทให้เลือกอย่างเช่นหลอดไฟธรรมดา หรือหลอดไฟที่มีไส้ หลอดเกลียว ซึ่งจะให้แสงออกโทนสีเหลืองและก็ยังปล่อยความร้อนออกมาด้วย จึงจะให้บรรยากาศที่อบอุ่นนุ่มนวล หลอดแบบ DAYLIGHT ก็จะเป็นหลอดแก้วสีฟ้าเข้มให้แสงที่นวลคล้ายกับแสงแบบดวงจันทร์ หรือจะเป็นตัวหลอดฮาโลเจน ซึ่งจะให้แสงที่ออกมาคล้ากับหลอดไฟธรรมดา แต่จะให้โทนสีที่อบอุ่นและนุ่มนวลกว่า ตลอดจนให้ความร้อนที่ออกมาน้อยกว่าหลอดไฟธรรมดา สามารถใช้รวมกับ DIMMER เพื่อช่วยในการลดหรือเพิ่มความจ้าของแสงได้
ลักษณะของการติดตั้งโคมไฟดาวน์ไลท์นั้น มีข้อดีตรงที่เราสามารถบังคับแสงที่ส่องตรงลงมาจากเพดานได้ ให้ความสว่างในเฉพาะจุดที่ต้องการ สามารถเป็นการแก้ไขข้อบกพร่องของห้องหรือเป็นการพรางบางมุมที่เป็นมุมอับให้กลืนหายไปกับความมืด ทำให้บรรยากาศภายในของห้องเกิดเป็นความสวยงามที่แตกต่างกัน ระหว่างแสงของกลางคืนและแสงของกลางวัน และยังเป็นการนำเอาหลอดไฟธรรมดามาติดตั้งให้ดูสวยงามและลดความจ้าของแสงลงได้ดีอีกด้วย การติดตั้งในไฟแบบนี้ไม่เหมาะสมติดตั้งในห้องต้องมีกิจกรรมที่ต้องใช้แสงสว่างมาก ๆ และการติดตั้งนั้นสามารถใช้ได้ทั้งฝ้าเพดาน ยิปซั่มบอร์ดฉาบเรียบ หรือฝ้าเพดาน โครงอะลูมิเนียมรูปตัวที แต่โดยส่วนมากก็มักจะนิยมใช้กับฝ้าเพดานแบบเรียบมากกว่า เพราะจะสามารถให้ความสวยงามที่มากกว่าด้วยเช่นกัน
ขอบคุณข้อมูลจาก: ไลท์ทรีโอ
ความคิดเห็น