ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เรื่องควรรู้ก่อนซื้อเครื่องทำน้ำอุ่น

เรื่องควรรู้ก่อนซื้อเครื่องทำน้ำอุ่น

ปัจจุบัน เครื่องทำน้ำอุ่น ดูเหมือนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับบ้านไปแล้ว (แม้อากาศจะไม่หนาวก็ตาม) เพราะหลายท่านเชื่อว่าการอาบน้ำอุ่นสามารถบรรเทาอาการปวดเมื่อย ลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อจากการทำงานหรือเล่นกีฬา และช่วยให้ระบบการหมุนเวียนโลหิตในร่างกายทำงานได้คล่องตัวยิ่งขึ้น ทำให้เรารู้สึกสดชื่นและสบายตัว

เครื่องทำน้ำอุ่นมีให้เลือกใช้งานหลายรูปแบบ แต่ที่นิยมใช้กันตามบ้านทุกวันนี้คงหนีไม่พ้นระบบไฟฟ้าเพราะติดตั้งได้สะดวกและใช้งานง่าย อย่างไรก็ดีเครื่องทำน้ำอุ่นก็มีคุณสมบัติเด่นด้อยแตกต่างกันไป ดังนั้นการจะเลือกเครื่องชนิดใดมาใช้งาน เราก็ควรพิจารณาในหลายๆประเด็น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องระบบทำความร้อน กำลังวัตต์ รวมถึงเรื่องความปลอดภัยที่ไม่ควรมองข้าม

1. ระบบทำความร้อน

เปรียบเสมือนหัวใจของเครื่องทำน้ำอุ่น แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบคือ

1. แบบน้ำผ่านร้อน น้ำจะไหลผ่านท่อหรือขดลวดทองแดงทำให้ได้น้ำร้อนเร็วทันใจและไหลแรงตัวเครื่องมีขนาดกะทัดรัด (ดูเพรียวบาง)แต่อาจมีปัญหาเรื่องความคงที่ของอุณหภูมิน้ำหากแรงดันน้ำอ่อนหรือไม่สม่ำเสมอและมีโอกาสเกิดการอุดตันภายในท่อได้ง่าย จากหินปูนที่มากับน้ำ

2. แบบหม้อต้ม น้ำจะไหลผ่านหม้อทองแดงหรือวัสดุสังเคราะห์ แล้วทำให้น้ำร้อนด้วยขดลวดความร้อน  ก่อนจะปล่อยน้ำออกไปใช้งาน จึงต้องใช้เวลาสักครู่ก่อนที่น้ำจะอุ่น

ระบบทำความร้อนแบบหม้อต้มนี้ สามารถแบ่งย่อยได้อีก2 ชนิด ได้แก่

2.1 หม้อทำความร้อนจากทองแดง ทนความร้อนได้ดี มีอายุการใช้งานยาวนาน แต่มีโอกาสเกิดตะกรัน ถ้าใช้กับน้ำที่ไม่ผ่านระบบกรองที่ดี

2.2 หม้อทำความร้อนจากวัสดุสังเคราะห์ หรือพลาสติกคุณภาพสูงอย่าง “กริลลอน” (Grilon)ซึ่งเป็นวัสดุเดียวกับที่ใช้ทำหม้อน้ำในรถยนต์รุ่นใหม่ๆสามารถทนความร้อนได้สูงถึง 260 องศาเซลเซียส แต่ถ้าเป็นวัสดุเลียนแบบ ใช้พลาสติกคุณภาพต่ำ อาจรั่วซึมได้ง่าย ไม่สมราคากับการออกแบบหม้อต้มที่เป็นชิ้นเดียวแบบไร้รอยต่อ


2. ระบบป้องกันไฟดูดไฟรั่ว

ระบบป้องกันไฟดูดโดยการตัดไฟฟ้าอัตโนมัติภายในเครื่องทำน้ำอุ่นหากมีกระแสไฟฟ้ารั่วไหลนั้น มี 2 ระบบ คือ


ELCB (Electronic Earth Leakage Circuit Breaker) หรือ ELB เป็นเบรกเกอร์กันไฟดูดที่มีหน้าตาคล้ายๆกับเซฟตี้เบรกเกอร์ของปั๊มน้ำ เครื่องปรับอากาศ ฯลฯ ถ้ามีกระแสไฟฟ้ารั่วเบรกเกอร์ELCB จะตัดไฟฟ้าออกจากระบบภายในเสี้ยววินาที (0.01-0.1 วินาที) หากมีกระแสไฟรั่วเพียง 15 มิลลิแอมป์ จึงป้องกันไฟฟ้าดูดได้ทันท่วงที การทำงานเป็นระบบกลไก (Mechanic)ดังนั้นเราควรต้องหมั่นกดปุ่ม TEST บนแผงหน้าปัดอย่างน้อยเดือนละครั้ง เพื่อความมั่นใจว่าระบบตัดไฟยังทำงานดีอยู่

ELSD (Electronic Leakage Safety Device)
หรือESDจริงๆแล้วก็คือ ELCB ที่พัฒนาให้เป็นแผงวงจรตัดไฟอิเล็กทรอนิกส์ที่ออกแบบให้เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องทำน้ำอุ่นไปในตัว จึงทำให้ผู้ผลิตดีไซน์ตัวเครื่องทำน้ำอุ่นให้มีขนาดเล็กลงได้ สามารถตัดกระแสไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็ว หากมีไฟฟ้ารั่วไหลเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

3. มิเตอร์ไฟฟ้า &ขนาดสายไฟ…สำคัญไฉน

ก่อนตัดสินใจเลือกเครื่องทำน้ำอุ่นมาใช้งานเราต้องรู้ว่ามิเตอร์ไฟฟ้าที่บ้านสามารถรองรับกระแสไฟฟ้าได้กี่แอมแปร์  (A)เพราะหากเราเลือกเครื่องทำน้ำอุ่นที่มีอัตราการกินไฟไม่สัมพันธ์กับมิเตอร์ไฟฟ้า อาจส่งผลให้เกิดไฟกระชาก ทำให้ตัวเครื่องได้รับความเสียหายและผู้ใช้อาจได้รับอันตรายอีกด้วย โดยมีข้อแนะนำง่ายๆดังนี้

มิเตอร์ไฟฟ้าขนาด 5 (15)A ควรเลือกเครื่องทำน้ำอุ่นที่กินไฟไม่เกิน 3,500วัตต์

มิเตอร์ไฟฟ้าขนาด 15(45) A สามารถเลือกใช้เครื่องทำน้ำอุ่นขนาด 4,500 วัตต์หรือ 6,000 วัตต์ก็ได้

นอกจากนี้การเลือกขนาดของสายไฟที่ใช้งานร่วมกับเครื่องทำน้ำอุ่นต้องได้มาตรฐาน (ขนาดสายไฟไม่เล็กเกินไป) เหมาะสมกับกำลังไฟของเครื่อง โดยมีสูตรคำนวณคร่าวๆดังนี้

หากเราเลือกเครื่องทำน้ำอุ่นที่มีกำลังไฟ 3,500 วัตต์ ให้หารด้วย 1,320 จะได้ผลลัพธ์2.65 หมายความว่าเราจะต้องเลือกใช้สายไฟที่มีหน้าตัดไม่น้อยกว่า 3 SQ.MMสูตรนี้สามารถนำไปคำนวณการเดินสายไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆได้อีกด้วย

4. เลือกกำลังวัตต์ให้เหมาะกับการใช้งาน

วัตต์ (Watt) ในที่นี้คือ ขนาดกำลังไฟฟ้าของเครื่องทำน้ำอุ่น เครื่องที่มีกำลังวัตต์มาก ความสามารถในการทำความร้อนก็ยิ่งมากขึ้นนั่นเอง โดยเลือกให้เหมาะสมกับสภาพอากาศของสถานที่ที่นำไปใช้ อย่างกรุงเทพฯและปริมณฑลเลือกเครื่องทำน้ำอุ่นขนาด3,500 -4,500 วัตต์ก็เพียงพอแล้ว เพราะสภาพอากาศไม่ได้หนาวเย็นมากแถมยังประหยัดค่าไฟและประหยัดเงินในกระเป๋าอีกต่างหาก แต่สำหรับพื้นที่อย่างภาคเหนือตอนบนของไทย โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว มีสภาพอากาศที่หนาวเย็นมากๆ ก็ควรเลือกเครื่องทำน้ำอุ่นที่มีกำลังวัตต์สูงหน่อยประมาณ 6,000 วัตต์ 


: ขอบคุณข้อมูลจาก: บ้านและสวน

#สาระเรื่องไฟฟ้า #ช่างไฟ #เครื่องทำน้ำอุ่น #ซ่อมไฟ #แกลง #ช่างแว่น #ช่างไฟฟ้า #แว่นช่างไฟแกลง


หาช่างไฟพื้นที่แกลง ระยอง
โทร 0849454211 (ช่างแว่น)
รับติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่น ซ่อม เดินสายดิน เดินสายไฟ

ระบบไฟฟ้าภายในบ้าน ยินดีให้คำปรึกษา ออกแบบและตรวจดูหน้างาน ฟรี ติดต่อสอบถามได้ตลอด 24ชม.


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สายไฟในบ้าน

สายไฟฟ้าในบ้าน สายไฟฟ้า(Cable wire) มีความสำคัญอย่างมากในการส่ง หรือจ่ายไฟฟ้าให้กับบ้านเรือน อุปกรณ์ไฟฟ้า หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านพักของคุณ ซึ่งมีความซับซ้อนอยู่พอสมควรหากคุณไม่ใช่ช่างฟ้าที่มีความรู้เรื่องนี้มากพอสมควร ดังนั้นการเลือกซื้อสายไฟฟ้าเพื่อมาติดตั้งในบ้านพักของประชาชนทั่วไปนั้น อาจจะทำให้ได้สายไฟฟ้าที่มีขนาดใหญ่เกินความจำเป็นสำหรับการส่งกระแสไฟฟ้าเพื่ออุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน หรือมีขนาดเล็กจนไม่สามารถทนกระแสที่มีมากกว่าความสามารถของสายไฟฟ้านั้นจะรับได้ และอาจจะเกิดความร้อนขึ้นที่สายไฟฟ้าจนทำให้ฉนวนที่หุ้มสายไฟฟ้าทั้ง 2เส้นนั้นละลายออก จากนั้นสายทองแดงหรืออลูมิเนียมจะเกิดการลัดวงจรเมื่อสัมผัสโดนกัน และเกิดประกายไฟที่อาจจะทำเกิดไฟไหม้ได้ สายไฟฟ้ามีหน้าที่สำหรับนำพลังงานไฟฟ้า จากแหล่งจ่ายไฟไปยังบริภัณฑ์หรือ ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าต่างๆ ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ผลิตสายไฟฟ้าขึ้นมากมายหลายชนิดตามความต้องการในรูปแบบต่างๆ เช่น สายไฟฟ้าเมนTHW สายเดี่ยวTHW สายไฟVCT สายไฟบ้านVAF สายไฟVSF สายไฟNYY สายไฟNYY-Ground สายไฟVAF-Ground สายไฟฟ้าบ้านปกติ สายไฟฟ้าฝังดิน สายไฟฟ้าอ่อนใช้ฝังดิน โดยผู้ใช้จะต้องพิ

CONSUMER UNIT  (ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต)

CONSUMER UNIT (ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต) "แผงจ่ายไฟฟ้าสำหรับที่อยู่อาศัย" เป็นแผงไฟฟ้าสำเร็จรูปนิยมใช้ในบ้านและหรือสำนักงานขนาดเล็กที่ใช้ไฟฟ้าระบบ 1 เฟส 220 โวลท์ มีลักษณะดังรูป Consumer Unit ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต ประกอบด้วยเมนเบรคเกอร์ (2 ขั้ว) และเบรคเกอร์ย่อย (1 ขั้ว) ที่เสียบต่ออยู่กับ bus bar มีขั้วต่อสายนิวทรอล และขั้วต่อสายกราวด์ ที่นิยมใช้ทั่วไปมีจำนวนวงจรย่อยตั้งแต่ 4-16 วงจรย่อย รูปด้านบนแสดงรายละเอียดภายในของ consumer unit ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต • หมายเลข1 = เมนเบรคเกอร์ 2 ขั้ว ให้เลือกขนาดตามมิเตอร์ของการไฟฟ้า (สูงสุดไม่เกิน 100 A) • หมายเลข2 = bus bar สำหรับวงจรขนาด 100 A • หมายเลข3 = Neutral Lug (N) • หมายเลข4 = Ground bar (G) • หมายเลข5 = miniature CB. แบบ 1 ขั้ว สำหรับวงจรย่อย • หมายเลข6 = Earth leakage miniature CB. แบบ 1 ขั้ว (เป็นเบรคเกอร์ชนิดกันไฟดูด อาจใช้หรือไม่ก็ได้) การเลือก consumer unit ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต มาใช้งานให้พิจารณาจากจำนวนวงจรย่อยที่ต้องการและควรเผื่อไว้ 1-2 วงจรสำหรับโหลดในอนาคต การซื้อ consumer จะได้รับเพียงตัว consumer และเมนเบรคเกอร

จัดไฟในบ้านให้ถูกหลัก..ฮวงจุ้ย

 เพื่อนๆ หลายคนมองข้ามเรื่องการวางระบบไฟฟ้าภายในบ้าน และไม่ค่อยใส่ใจสักเท่าไหร่ ส่วนใหญ่จะยกให้เป็นหน้าที่ของช่างไฟ แต่ในทาง ฮวงจุ้ย เรื่องของไฟฟ้านั้นก็เป็นเรื่องที่สำคัญค่อนข้างมากเช่นเดียวกับการจัดฮวงจุ้ยในรูปแบบอื่นๆ เพราะ “แสงสว่าง” บ่งบอกถึงพลังชีวิต เป็นพลังหยางที่เคลื่อนไหว และนำโชคลาภมาสู่บ้าน การจัดระบบไฟฟ้าจึงควรควรเลือกตำแหน่งของ หลอดไฟ ให้ดี วันนี้จึงนำข้อมูลฮวงจุ้ยเรื่องการจัดวาง หลอดไฟ ในบ้าน มาฝากเพื่อนๆ กันค่ะ 1. ไฟหน้าประตูรั้ว ไฟหน้าประตูรั้ว : ควรมีหลอดไฟ 2 ดวงวางด้านข้างประตู เปิดทิ้งไว้ในเวลากลางคืนเพื่อดึงโชคลาภเข้าสู่บ้าน เหตุผลที่ต้องติดไฟ 2 ดวง ก็เพื่อให้เกิดความสมดุลนั่นเอง นอกจากนี้กรณีที่บริเวณตรงข้ามกับบ้านเป็นบ้านร้าง หรือที่รกร้าง ไฟหน้าบ้านจะช่วยแก้ไขเรื่องพลังหยินพิฆาตได้อย่างดีอีกด้วย 2. ไฟในห้องนอน ไฟในห้องนอน : ไม่ควรใช้ไฟประเภทหลอดเปลือยมองเห็นหลอดไฟ ควรจะเป็นไฟติดโคมที่กรองแสง หรือทำเพดานหลุมเพื่อซ่อนไฟเอาไว้ และห้ามวางตำแหน่งของดวงไฟตรงกับเตียงนอน เพราะแสงจะสว่างจนเกินไปทำให้รบกวนการนอน 3. ไฟห้องน้ำ ไฟห้องน้ำ : ควรใช้ไฟที่สว่าง เพราะห้องน