ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ติดตั้งสวิทซ์ไฟในบ้านเองไม่รอช่างไฟ

ติดตั้งสวิทซ์ไฟในบ้านเองไม่รอ ช่างไฟ

งานที่เกี่ยวกับเรื่องไฟฟ้า ส่วนใหญ่ผู้อยู่อาศัยทั่วไปมักจะไม่ได้เป็นคนลงมือเอง จะต้องรอช่างไฟมาเป็นผู้จัดการให้ ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ถูกต้อง เพราะเรื่องของกระแสไฟฟ้า หากเราไม่มีความรู้ความชำนาญ การจะลงมือกับกระแสไฟฟ้าย่อมเ

เป็นเรื่องที่ไม่ปลอดภัยแน่ๆ แต่อย่างไรก็ตาม เราก็ต้องยอมรับว่าหากมันเป็นงานเล็กๆ น้อย การจะหาช่างให้มาทำงานให้ถึงบ้านบางทีก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นหากเป็นไปได้เราก็ควรจะเรียนรู้และฝึกฝนทักษะ งานไฟฟ้าเบื้องต้นเอาไว้บ้างคะ

เรื่องไฟฟ้าในบ้านที่เรามักจะมีความต้องการเพิ่มเติมอยู่เรื่อยๆ ก็คือ การติดตั้งสวิทช์ไฟฟ้าเพิ่มเติมในบ้าน ซึ่งบ้างครั้งก็เกิดจากการที่เราลงมือตกแต่งบ้านใหม่ ต้องการเพิ่มมุม หรือเพิ่มโคมไฟตกแต่งในบ้าน
การมีสวิทช์ไฟฟ้าใหม่อีกจุดก็เป็นเรื่องที่มีความจำเป็น ซึ่งงานนี้เราสามารถทำเองได้ หากว่าเรารู้วิธีและขั้นตอนการทำงานที่ถูกต้องคะ มาเริ่มกันเลยนะค่ะ

ขั้นตอนในการติดตั้งสวิทช์ไฟภายในบ้านด้วยตัวเอง

1. เลือกจุดที่จะต่อเชื่อมสายไฟฟ้า หมายถึง ตำแหน่งที่เราต้องการติดตั้งสวิทช์ไฟฟ้าใหม่ กับจุดที่เราจะเชื่อมต่อสายไฟฟ้ามาใช้งาน ซึ่งดีที่สุดก็คือการต่อมาจากเบรกเกอร์จ่ายไฟโดยตรง แต่หากว่ามันมีระยะทางที่ไกลมาก เราก็ต้องหาจุดเชื่อมที่ใกล้ที่สุด เพื่อต่อสายไฟมาใช้งาน

2. เจาะผนังด้วยสว่านไฟฟ้าและฝังพุกเข้าไป เพื่อติดฐานสวิทช์ ในกรณีเป็นการเดินสายในท่อ เราจะต้องเจาะผนังเพิ่มเหนือกล่องฐานสวิทช์เป็นแนวขึ้นไปเพื่อติดกิ๊บรัดท่อ

3. ในกรณีเดินสายไฟในท่อให้จัดการติดท่อและร้อยสายไฟชุดใหม่เข้าไปในท่อให้เรียบร้อย เผื่อระยะสายสำหรับต่อเข้ากับจุดเชื่อมสายไฟ


4. ติดตั้งกล่องรับสายไฟ (กล่องจุดเชื่อมเพื่อแยกสายไฟ) จากนั้น ลงเบรกเกอร์ต่อสายไฟใหม่เข้ากับชุดสายไฟเดิมตามสีของสายไฟ (แดง ขาว ดำ) พันด้วยเทปและหัวต่อครอบป้องกันให้เรียบร้อยแล้วปิดกล่อง

5. ต่อสายไฟที่โยงลงมาในจุดใหม่เข้ากับสวิทช์ตัวใหม่ ปิดครอบสวิทช์เป็นอันเสร็จเรียบร้อย


❇️ข้อควรระวัง❇️ จะต้องใส่ใจในเรื่องการเชื่อมต่อสายไฟให้มาก ไม่ว่าจะเรื่องสายไฟแต่ละสี ที่ต้องใช้ให้ตรงกันชัดเจน และการเชื่อมต่อสายไฟที่ต้องระวังเรื่องสายทองแดงโดนกัน เพราะจะทำให้เกิดการลัดวงจรเกิดความเสียหาย เป็นอันตรายหรือเกิดเพลิงไหม้ได้ แต่หากว่าเรามีความรอบคอบใส่ใจ การติดตั้งสวิทช์ไฟฟ้าใหม่ในบ้าน เราก็สามารถทำเองได้ ไม่ต้องรอช่างไฟคะ แต่ถึงอย่างไรถ้าไม่มั่นใจควรเรียกช่างที่มีความชำนาญมาจัดการให้จะดีกว่านะค่ะ

🔨 🛠️  🔧   🔩 🗞️ 💡🕯️🔦  🔌  ⚡  🌃  🏪

หากต้องการเรียกใช้บริการช่างไฟในพื้นที่ แกลง ระยอง โทร 0849454211 (ช่างแว่น) มั่นใจได้ประสบการณ์งานไฟฟ้ามากกว่า 20ปี
ยินดีให้บริการตลอด 24ชม.
ปรึกษา ออกแบบ ดูหน้างาน ฟรี



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สายไฟในบ้าน

สายไฟฟ้าในบ้าน สายไฟฟ้า(Cable wire) มีความสำคัญอย่างมากในการส่ง หรือจ่ายไฟฟ้าให้กับบ้านเรือน อุปกรณ์ไฟฟ้า หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านพักของคุณ ซึ่งมีความซับซ้อนอยู่พอสมควรหากคุณไม่ใช่ช่างฟ้าที่มีความรู้เรื่องนี้มากพอสมควร ดังนั้นการเลือกซื้อสายไฟฟ้าเพื่อมาติดตั้งในบ้านพักของประชาชนทั่วไปนั้น อาจจะทำให้ได้สายไฟฟ้าที่มีขนาดใหญ่เกินความจำเป็นสำหรับการส่งกระแสไฟฟ้าเพื่ออุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน หรือมีขนาดเล็กจนไม่สามารถทนกระแสที่มีมากกว่าความสามารถของสายไฟฟ้านั้นจะรับได้ และอาจจะเกิดความร้อนขึ้นที่สายไฟฟ้าจนทำให้ฉนวนที่หุ้มสายไฟฟ้าทั้ง 2เส้นนั้นละลายออก จากนั้นสายทองแดงหรืออลูมิเนียมจะเกิดการลัดวงจรเมื่อสัมผัสโดนกัน และเกิดประกายไฟที่อาจจะทำเกิดไฟไหม้ได้ สายไฟฟ้ามีหน้าที่สำหรับนำพลังงานไฟฟ้า จากแหล่งจ่ายไฟไปยังบริภัณฑ์หรือ ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าต่างๆ ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ผลิตสายไฟฟ้าขึ้นมากมายหลายชนิดตามความต้องการในรูปแบบต่างๆ เช่น สายไฟฟ้าเมนTHW สายเดี่ยวTHW สายไฟVCT สายไฟบ้านVAF สายไฟVSF สายไฟNYY สายไฟNYY-Ground สายไฟVAF-Ground สายไฟฟ้าบ้านปกติ สายไฟฟ้าฝังดิน สายไฟฟ้าอ่อนใช้ฝังดิน โดยผู้ใช้จะต้องพิ

CONSUMER UNIT  (ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต)

CONSUMER UNIT (ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต) "แผงจ่ายไฟฟ้าสำหรับที่อยู่อาศัย" เป็นแผงไฟฟ้าสำเร็จรูปนิยมใช้ในบ้านและหรือสำนักงานขนาดเล็กที่ใช้ไฟฟ้าระบบ 1 เฟส 220 โวลท์ มีลักษณะดังรูป Consumer Unit ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต ประกอบด้วยเมนเบรคเกอร์ (2 ขั้ว) และเบรคเกอร์ย่อย (1 ขั้ว) ที่เสียบต่ออยู่กับ bus bar มีขั้วต่อสายนิวทรอล และขั้วต่อสายกราวด์ ที่นิยมใช้ทั่วไปมีจำนวนวงจรย่อยตั้งแต่ 4-16 วงจรย่อย รูปด้านบนแสดงรายละเอียดภายในของ consumer unit ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต • หมายเลข1 = เมนเบรคเกอร์ 2 ขั้ว ให้เลือกขนาดตามมิเตอร์ของการไฟฟ้า (สูงสุดไม่เกิน 100 A) • หมายเลข2 = bus bar สำหรับวงจรขนาด 100 A • หมายเลข3 = Neutral Lug (N) • หมายเลข4 = Ground bar (G) • หมายเลข5 = miniature CB. แบบ 1 ขั้ว สำหรับวงจรย่อย • หมายเลข6 = Earth leakage miniature CB. แบบ 1 ขั้ว (เป็นเบรคเกอร์ชนิดกันไฟดูด อาจใช้หรือไม่ก็ได้) การเลือก consumer unit ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต มาใช้งานให้พิจารณาจากจำนวนวงจรย่อยที่ต้องการและควรเผื่อไว้ 1-2 วงจรสำหรับโหลดในอนาคต การซื้อ consumer จะได้รับเพียงตัว consumer และเมนเบรคเกอร

จัดไฟในบ้านให้ถูกหลัก..ฮวงจุ้ย

 เพื่อนๆ หลายคนมองข้ามเรื่องการวางระบบไฟฟ้าภายในบ้าน และไม่ค่อยใส่ใจสักเท่าไหร่ ส่วนใหญ่จะยกให้เป็นหน้าที่ของช่างไฟ แต่ในทาง ฮวงจุ้ย เรื่องของไฟฟ้านั้นก็เป็นเรื่องที่สำคัญค่อนข้างมากเช่นเดียวกับการจัดฮวงจุ้ยในรูปแบบอื่นๆ เพราะ “แสงสว่าง” บ่งบอกถึงพลังชีวิต เป็นพลังหยางที่เคลื่อนไหว และนำโชคลาภมาสู่บ้าน การจัดระบบไฟฟ้าจึงควรควรเลือกตำแหน่งของ หลอดไฟ ให้ดี วันนี้จึงนำข้อมูลฮวงจุ้ยเรื่องการจัดวาง หลอดไฟ ในบ้าน มาฝากเพื่อนๆ กันค่ะ 1. ไฟหน้าประตูรั้ว ไฟหน้าประตูรั้ว : ควรมีหลอดไฟ 2 ดวงวางด้านข้างประตู เปิดทิ้งไว้ในเวลากลางคืนเพื่อดึงโชคลาภเข้าสู่บ้าน เหตุผลที่ต้องติดไฟ 2 ดวง ก็เพื่อให้เกิดความสมดุลนั่นเอง นอกจากนี้กรณีที่บริเวณตรงข้ามกับบ้านเป็นบ้านร้าง หรือที่รกร้าง ไฟหน้าบ้านจะช่วยแก้ไขเรื่องพลังหยินพิฆาตได้อย่างดีอีกด้วย 2. ไฟในห้องนอน ไฟในห้องนอน : ไม่ควรใช้ไฟประเภทหลอดเปลือยมองเห็นหลอดไฟ ควรจะเป็นไฟติดโคมที่กรองแสง หรือทำเพดานหลุมเพื่อซ่อนไฟเอาไว้ และห้ามวางตำแหน่งของดวงไฟตรงกับเตียงนอน เพราะแสงจะสว่างจนเกินไปทำให้รบกวนการนอน 3. ไฟห้องน้ำ ไฟห้องน้ำ : ควรใช้ไฟที่สว่าง เพราะห้องน