ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ความสำคัญของการใช้ท่อร้อยสายไฟ​


        ไฟฟ้าถือว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมากในยุคปัจจุบันนี้ เรียกง่ายๆ ว่าทุกๆ สถานที่จำเป็นต้องมีไฟฟ้าเพื่อเอาไว้สำหรับใช้งานด้านต่างๆ หากไม่มีไฟฟ้าแล้วโลกทั้งโลกก็คงจะมืดมน ทุกสิ่งทุกอย่างก็คงจะถูกย้อนกลับไปในยุคโบราณอย่างแน่นอน 

การที่ไฟฟ้าจะเข้ามาถึงบ้านเรือนหรือว่าพื้นที่ต่างๆ รวมไปถึงตึกอาคารได้นั้นมันก็จำเป็นที่จะต้องมาจากการผ่านตัวกลางอย่างสายไฟ 


แต่โดยปกติเรามักจะเห็นว่าสถานที่หลายๆ แห่งโดยเฉพาะพวกสถานที่ที่ต้องใช้ไฟเป็นจำนวนมาก เช่น โรงงานอุตสาหกรรม หรือ การเดินสายไฟตามตึกและคอนโด จะมีการใช้ท่อร้อยสายไฟหุ้มเข้าไปกับสายไฟเหล่านั้นอีกที บางคนอาจจะมีข้อสงสัยว่าก็ในเมื่อสายไฟมันก็มียางหุ้มอยู่แล้วจะต้องเอาท่อร้อยสายไฟไปหุ้มอีกทำไม

ลองมาดูความสำคัญของการใช้ท่อร้อยสายไฟแล้ว

คุณจะรู้ว่าทำไมถึงต้องร้อยมันเข้าไปอีกชั้น

ช่วยป้องกันสายไฟไม่ได้เกิดความเสียหาย 

– การมีท่อร้อยสายไฟหุ้มกับตัวสายไฟอีกทีหนึ่งแน่นอนว่ามันจะช่วยในเรื่องของการเป็นเกราะป้องกันไม่ให้ตัวสายไฟนั้นไปสัมผัสโดนสิ่งต่างๆ ซึงอาจจะเสี่ยงต่อการทีสายไฟจะเกิดการชำรุดหรือเกิดการเสียหายได้

ป้องกันกรณีสายไฟรั่ว

– บางทีคนที่ไม่รู้ว่าตอนนี้สายไฟบริเวณดังกล่าวมีการรั่วอยู่อาจจะเข้าไปสัมผัสด้วยเหตุผลต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านั้นอาจจะทำให้โดนไฟดูดได้ การที่มีท่อร้อยสายไฟช่วยหุ้มอยู่จะทำให้ป้องกันการโดนไฟดูดจากกรณีที่สายไฟชำรุด รั่ว เสียหาย และป้องกันไม่ให้คนไปสัมผัสกับสายไฟโดยตรงได้อีก


มีความสะดวกสบายในการเดินสายไฟ 

– เมื่อมีท่อร้อยสายไฟอยู่แล้ว มันก็จะทำให้รู้ว่าหากต้องการที่จะเปลี่ยนสายไฟใหม่หรือต้องการที่จะเดินสายไฟใหม่ สามารถที่จะเดินตามท่อร้อยสายไฟได้เลย ไม่เสียเวลาในการมาหาที่ยึดสายไฟบ้าง เส้นทางในการโยงสายไฟบ้าง ช่วยประหยัดเวลาและสร้างความสะดวกสบายได้เป็นอย่างดี

ป้องกันไฟไหม้กรณีไฟฟ้าลัดวงจร – เนื่องมาจากว่ากรณีที่เกิดสายไฟรั่วแต่กระแสไฟฟ้ายังคงวิ่งไหลผ่านเป็นจำนวนมากหากไม่ได้ใส่ท่อร้อยสายไฟไว้ สะเก็ดไฟอาจจะเกิดขึ้นและไปติดกับสิ่งรอบข้างได้ ทว่าการใส่ท่อร้อยสายไฟเอาไว้จะทำให้สะเก็ดไฟดังกล่าวติดอยู่กับแค่ท่อร้อยสายไฟ ซึ่งเมื่อเรารู้ก็จะแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที

ช่วยเก็บสายไฟให้เป็นระเบียบ 

– บ่อยครั้งที่เวลาร้อยสายไฟแล้วสายไฟมักจะห้อยระโยงรยางค์ การมีท่อร้อยสายไฟก็จะช่วยในการเก็บให้สายไฟเหล่านั้นเป็นระเบียบ คนที่เดินผ่านไปก็จะไม่เหยียบหรือไม่สัมผัสโดน ทำให้ไม่เกิดอันตรายและเรียบร้อยอีกด้วย


#สาระเรื่องไฟฟ้า #ช่างซ่อมไฟ #ช่างไฟ #สายไฟ #เดินสายไฟ 




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สายไฟในบ้าน

สายไฟฟ้าในบ้าน สายไฟฟ้า(Cable wire) มีความสำคัญอย่างมากในการส่ง หรือจ่ายไฟฟ้าให้กับบ้านเรือน อุปกรณ์ไฟฟ้า หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านพักของคุณ ซึ่งมีความซับซ้อนอยู่พอสมควรหากคุณไม่ใช่ช่างฟ้าที่มีความรู้เรื่องนี้มากพอสมควร ดังนั้นการเลือกซื้อสายไฟฟ้าเพื่อมาติดตั้งในบ้านพักของประชาชนทั่วไปนั้น อาจจะทำให้ได้สายไฟฟ้าที่มีขนาดใหญ่เกินความจำเป็นสำหรับการส่งกระแสไฟฟ้าเพื่ออุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน หรือมีขนาดเล็กจนไม่สามารถทนกระแสที่มีมากกว่าความสามารถของสายไฟฟ้านั้นจะรับได้ และอาจจะเกิดความร้อนขึ้นที่สายไฟฟ้าจนทำให้ฉนวนที่หุ้มสายไฟฟ้าทั้ง 2เส้นนั้นละลายออก จากนั้นสายทองแดงหรืออลูมิเนียมจะเกิดการลัดวงจรเมื่อสัมผัสโดนกัน และเกิดประกายไฟที่อาจจะทำเกิดไฟไหม้ได้ สายไฟฟ้ามีหน้าที่สำหรับนำพลังงานไฟฟ้า จากแหล่งจ่ายไฟไปยังบริภัณฑ์หรือ ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าต่างๆ ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ผลิตสายไฟฟ้าขึ้นมากมายหลายชนิดตามความต้องการในรูปแบบต่างๆ เช่น สายไฟฟ้าเมนTHW สายเดี่ยวTHW สายไฟVCT สายไฟบ้านVAF สายไฟVSF สายไฟNYY สายไฟNYY-Ground สายไฟVAF-Ground สายไฟฟ้าบ้านปกติ สายไฟฟ้าฝังดิน สายไฟฟ้าอ่อนใช้ฝังดิน โดยผู้ใช้จะต้องพิ

CONSUMER UNIT  (ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต)

CONSUMER UNIT (ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต) "แผงจ่ายไฟฟ้าสำหรับที่อยู่อาศัย" เป็นแผงไฟฟ้าสำเร็จรูปนิยมใช้ในบ้านและหรือสำนักงานขนาดเล็กที่ใช้ไฟฟ้าระบบ 1 เฟส 220 โวลท์ มีลักษณะดังรูป Consumer Unit ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต ประกอบด้วยเมนเบรคเกอร์ (2 ขั้ว) และเบรคเกอร์ย่อย (1 ขั้ว) ที่เสียบต่ออยู่กับ bus bar มีขั้วต่อสายนิวทรอล และขั้วต่อสายกราวด์ ที่นิยมใช้ทั่วไปมีจำนวนวงจรย่อยตั้งแต่ 4-16 วงจรย่อย รูปด้านบนแสดงรายละเอียดภายในของ consumer unit ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต • หมายเลข1 = เมนเบรคเกอร์ 2 ขั้ว ให้เลือกขนาดตามมิเตอร์ของการไฟฟ้า (สูงสุดไม่เกิน 100 A) • หมายเลข2 = bus bar สำหรับวงจรขนาด 100 A • หมายเลข3 = Neutral Lug (N) • หมายเลข4 = Ground bar (G) • หมายเลข5 = miniature CB. แบบ 1 ขั้ว สำหรับวงจรย่อย • หมายเลข6 = Earth leakage miniature CB. แบบ 1 ขั้ว (เป็นเบรคเกอร์ชนิดกันไฟดูด อาจใช้หรือไม่ก็ได้) การเลือก consumer unit ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต มาใช้งานให้พิจารณาจากจำนวนวงจรย่อยที่ต้องการและควรเผื่อไว้ 1-2 วงจรสำหรับโหลดในอนาคต การซื้อ consumer จะได้รับเพียงตัว consumer และเมนเบรคเกอร

จัดไฟในบ้านให้ถูกหลัก..ฮวงจุ้ย

 เพื่อนๆ หลายคนมองข้ามเรื่องการวางระบบไฟฟ้าภายในบ้าน และไม่ค่อยใส่ใจสักเท่าไหร่ ส่วนใหญ่จะยกให้เป็นหน้าที่ของช่างไฟ แต่ในทาง ฮวงจุ้ย เรื่องของไฟฟ้านั้นก็เป็นเรื่องที่สำคัญค่อนข้างมากเช่นเดียวกับการจัดฮวงจุ้ยในรูปแบบอื่นๆ เพราะ “แสงสว่าง” บ่งบอกถึงพลังชีวิต เป็นพลังหยางที่เคลื่อนไหว และนำโชคลาภมาสู่บ้าน การจัดระบบไฟฟ้าจึงควรควรเลือกตำแหน่งของ หลอดไฟ ให้ดี วันนี้จึงนำข้อมูลฮวงจุ้ยเรื่องการจัดวาง หลอดไฟ ในบ้าน มาฝากเพื่อนๆ กันค่ะ 1. ไฟหน้าประตูรั้ว ไฟหน้าประตูรั้ว : ควรมีหลอดไฟ 2 ดวงวางด้านข้างประตู เปิดทิ้งไว้ในเวลากลางคืนเพื่อดึงโชคลาภเข้าสู่บ้าน เหตุผลที่ต้องติดไฟ 2 ดวง ก็เพื่อให้เกิดความสมดุลนั่นเอง นอกจากนี้กรณีที่บริเวณตรงข้ามกับบ้านเป็นบ้านร้าง หรือที่รกร้าง ไฟหน้าบ้านจะช่วยแก้ไขเรื่องพลังหยินพิฆาตได้อย่างดีอีกด้วย 2. ไฟในห้องนอน ไฟในห้องนอน : ไม่ควรใช้ไฟประเภทหลอดเปลือยมองเห็นหลอดไฟ ควรจะเป็นไฟติดโคมที่กรองแสง หรือทำเพดานหลุมเพื่อซ่อนไฟเอาไว้ และห้ามวางตำแหน่งของดวงไฟตรงกับเตียงนอน เพราะแสงจะสว่างจนเกินไปทำให้รบกวนการนอน 3. ไฟห้องน้ำ ไฟห้องน้ำ : ควรใช้ไฟที่สว่าง เพราะห้องน