ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การจัดแสงไฟในห้อง

การจัดแสงไฟในห้อง (Lighting Design)

แสงไฟในบ้าน อาคาร หรือ ใน คอนโด ถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก ทั้งนี้เพื่อใช้ในการส่องสว่างเวลายามค่ำคืน  ไม่ว่าจะเป็นไฟในบ้าน ตามห้องต่างๆ หรือ นอกบ้านก็ตาม ดังนั้นการออกแบบแสงไฟ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการใช้ประโยชน์หรือใช้เพื่อการตกแต่ง   ซึ่งจะสว่างมากน้อยเพียงใดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับการใช้งานใน บริเวณนั้นๆ

การให้แสงสว่างภายในห้อง แบ่งเป็น

1. แสงที่ใช้ส่องสว่าง (แสงหลัก)

แสงเพื่อการใช้งานทั่วไป ก็ คือ ไฟติดเพดาน  เพื่อให้ความสว่างแบบกระจายทั่วพื้นที่ ซึ่งเราสามารถติดตั้งสวิสซ์หรี่ไฟ เพื่อช่วยควบคุมปริมาณแสงได้  ทั้งนี้ต้องดูชนิดหลอดด้วยว่าเป็นหลอดไส้หรือเปล่า ถ้าใช่สามารถติดตั้งได้สบาย แสงแบบนี้เราสามารถพบได้ทั่วไป โดยเฉพาะในห้องคอนโดหรือบ้านต่างๆ   

หรืออาจจะเป็น แสงไฟเพื่อการใช้งานเฉพาะจุด ช่วยให้ทำกิจกรรมต่างๆได้สะดวก และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น อ่านหนังสือ ทำงาน ทานอาหาร เราควรเลือกหลอดไฟและโคมไฟที่เน้นการให้แสงเป็นลำส่องตรงเฉพาะจุด ไม่กว้างมาก และเป็นแสงชนิดที่สว่างที่สุดในห้อง สามารถเลือกใช้โป๊ะโคมแบบทึบ และด้านในเป็นวัสดุช่วยสะท้อนแสงได้อีกด้วย

2  แสงที่ใช้เพื่อตกแต่ง หรือสร้างบรรยากาศ

โดยมากจะเป็นโคมไฟติดผนัง โคมไฟส่องภาพ โคมไฟตั้งพื้น โคมไฟตั้งโต๊ะ หรือาจจะเป็นไฟอัพไลท์ ไฟหลืบ ไฟซ่อนต่างเพื่อสร้างบรรยากาศให้น่าสนใจ หรือกำหนดจุดที่ต้องการให้ความสนใจเป็นพิเศษ

ละห้องของบ้านหรือ คอนโด  ก็ย่อมมีสไตล์การตกแต่งและความต้องการในการใช้งานที่ต่างกัน ซึ่ง “แสงไฟ” ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่บ่งบอกถึงฟีลลิ่งของแต่ละห้องได้เป็นอย่างดี ดังนั้นเพื่อให้ห้องต่าง ๆ ภายในบ้านมีบรรยากาศที่เหมาะสม

1. ห้องนอน

          ห้องนอนเป็นห้องสำคัญของทุกคน ซึ่งบรรยากาศภายในห้องนอนควรรู้สึกสงบและอบอุ่น อีกทั้งควรให้ความรู้สึกผ่อนคลาย เพราะเป็นห้องที่ใช้ในการพักผ่อนอย่างแท้จริง ดังนั้นแสงไฟในห้องนอนจึงควรใช้แสงไฟที่ไม่สว่างจัด เช่น แชนเดอเลียร์, ไฟซ่อนผนัง, ไฟฝังฝ้า หรือจะเป็นหลอดไฟในบ้านทั่ว ๆ ไปก็ได้ แต่ไม่ควรให้แสงอ่อนมากเกินไป หากมีการอ่านหนังสือควรใช้แสงสว่างให้เพียงพอ หรือมีโคมไฟหัวนอนเสริม

2. ห้องนั่งเล่น

          ห้องนั่งเล่นคือจุดสำคัญ ที่มีไว้รับแขกและใช้ทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว เรียกว่าเป็นห้องอเนกประสงค์ที่สามารถปรับเปลี่ยนแสงไฟได้หลากหลายให้ตรงกับความต้องการ แต่ควรให้มีแสงสว่างมากหน่อย เช่น ใช้หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ หรือหากอยากให้มีความนุ่มนวลสวยงาม อาจใช้แสงไฟนวล ๆ จากหลอดสีส้ม หรือแสงไฟเฉพาะจุดที่เน้นงานศิลปะ ตู้โชว์ ฯลฯ ก็ได้

3. ห้องน้ำ

          เป็นอีกหนึ่งห้องที่มีความสำคัญสำหรับทุกคนในบ้าน เพราะเราต้องใช้ห้องน้ำกันวันละหลายครั้ง ดังนั้นเพื่อให้ห้องน้ำไม่เกิดความอับชื้น มองเห็นทางเดินได้ชัดเจน ไม่ลื่นล้ม ควรเลือกแสงไฟที่สว่าง ๆ หากเปิดให้แสงธรรมชาติถ่ายเทผ่านเข้ามาได้มากยิ่งดี ทั้งนี้หากมีโต๊ะเครื่องแป้งสำหรับแต่งหน้า แต่งตัว อยู่ภายในห้องน้ำ ให้ติดไฟรอบ ๆ กระจกด้วยแสงอ่อนนุ่ม

4. ห้องครัว

          สำหรับห้องครัวที่เราใช้ประกอบอาหาร ควรใช้แสงไฟสว่างตั้งแต่แสงปกติไปจนถึงสว่างเป็นพิเศษ เช่น หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ทั่วไป หรือหลอดไฟฮาโลเจนก็ได้ และควรเปิดช่องให้มีอากาศถ่ายเท มีแสงจากธรรมชาติเข้ามามากที่สุด เนื่องจากในห้องครัวไม่ควรเป็นจุดอับ อีกทั้งควรเพิ่มแสงสว่างใต้เครื่องดูดควัน หรือใต้ตู้เก็บของชั้นบนด้วย

5. ห้องทำงาน

          ห้องทำงานคือห้องที่ต้องใช้สมาธิมาก ความเงียบสงบ สบาย ๆ และไม่จัดจ้าน จะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายได้มากกว่า ดังนั้นแสงที่ใช้ในห้องทำงานจึงควรเป็นแสงธรรมชาติ หรือหลอดไฟแสงสีขาว เพื่อให้สีภายในห้องไม่ผิดเพี้ยน โดยเฉพาะเมื่อต้องเพ่งสายตากับคอมพิวเตอร์นาน ๆ

6. ห้องรับประทานอาหาร

          การเพิ่มบรรยากาศดี ๆ ให้กับห้องรับประทานอาหาร ทำได้ง่าย ๆ ด้วยการเลือกแสงไฟที่สว่างและสะอาดตา โดยเฉพาะแสงไฟสวย ๆ จากแชนเดอเลียร์เหนือโต๊ะอาหาร ที่จะทำให้ทุกจานบนโต๊ะอาหารดูน่ารับประทานมากขึ้น ทั้งนี้โคมไฟควรเล็กกว่าด้านกว้างของโต๊ะประมาณ 6-12 นิ้ว และสูงเหนือโต๊ะประมาณ 2 ฟุต

  

        ถึงแม้ว่าแต่ละห้องจะมีสไตล์การตกแต่งที่แต่งต่างกันอยู่แล้ว แต่ถ้าเราเพิ่มความใส่ใจในการเล่นแสงไฟเข้าไปด้วย ก็จะช่วยทำให้แต่ละห้องมีบรรยากาศที่น่าอยู่มากขึ้น


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สายไฟในบ้าน

สายไฟฟ้าในบ้าน สายไฟฟ้า(Cable wire) มีความสำคัญอย่างมากในการส่ง หรือจ่ายไฟฟ้าให้กับบ้านเรือน อุปกรณ์ไฟฟ้า หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านพักของคุณ ซึ่งมีความซับซ้อนอยู่พอสมควรหากคุณไม่ใช่ช่างฟ้าที่มีความรู้เรื่องนี้มากพอสมควร ดังนั้นการเลือกซื้อสายไฟฟ้าเพื่อมาติดตั้งในบ้านพักของประชาชนทั่วไปนั้น อาจจะทำให้ได้สายไฟฟ้าที่มีขนาดใหญ่เกินความจำเป็นสำหรับการส่งกระแสไฟฟ้าเพื่ออุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน หรือมีขนาดเล็กจนไม่สามารถทนกระแสที่มีมากกว่าความสามารถของสายไฟฟ้านั้นจะรับได้ และอาจจะเกิดความร้อนขึ้นที่สายไฟฟ้าจนทำให้ฉนวนที่หุ้มสายไฟฟ้าทั้ง 2เส้นนั้นละลายออก จากนั้นสายทองแดงหรืออลูมิเนียมจะเกิดการลัดวงจรเมื่อสัมผัสโดนกัน และเกิดประกายไฟที่อาจจะทำเกิดไฟไหม้ได้ สายไฟฟ้ามีหน้าที่สำหรับนำพลังงานไฟฟ้า จากแหล่งจ่ายไฟไปยังบริภัณฑ์หรือ ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าต่างๆ ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ผลิตสายไฟฟ้าขึ้นมากมายหลายชนิดตามความต้องการในรูปแบบต่างๆ เช่น สายไฟฟ้าเมนTHW สายเดี่ยวTHW สายไฟVCT สายไฟบ้านVAF สายไฟVSF สายไฟNYY สายไฟNYY-Ground สายไฟVAF-Ground สายไฟฟ้าบ้านปกติ สายไฟฟ้าฝังดิน สายไฟฟ้าอ่อนใช้ฝังดิน โดยผู้ใช้จะต้องพิ

CONSUMER UNIT  (ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต)

CONSUMER UNIT (ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต) "แผงจ่ายไฟฟ้าสำหรับที่อยู่อาศัย" เป็นแผงไฟฟ้าสำเร็จรูปนิยมใช้ในบ้านและหรือสำนักงานขนาดเล็กที่ใช้ไฟฟ้าระบบ 1 เฟส 220 โวลท์ มีลักษณะดังรูป Consumer Unit ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต ประกอบด้วยเมนเบรคเกอร์ (2 ขั้ว) และเบรคเกอร์ย่อย (1 ขั้ว) ที่เสียบต่ออยู่กับ bus bar มีขั้วต่อสายนิวทรอล และขั้วต่อสายกราวด์ ที่นิยมใช้ทั่วไปมีจำนวนวงจรย่อยตั้งแต่ 4-16 วงจรย่อย รูปด้านบนแสดงรายละเอียดภายในของ consumer unit ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต • หมายเลข1 = เมนเบรคเกอร์ 2 ขั้ว ให้เลือกขนาดตามมิเตอร์ของการไฟฟ้า (สูงสุดไม่เกิน 100 A) • หมายเลข2 = bus bar สำหรับวงจรขนาด 100 A • หมายเลข3 = Neutral Lug (N) • หมายเลข4 = Ground bar (G) • หมายเลข5 = miniature CB. แบบ 1 ขั้ว สำหรับวงจรย่อย • หมายเลข6 = Earth leakage miniature CB. แบบ 1 ขั้ว (เป็นเบรคเกอร์ชนิดกันไฟดูด อาจใช้หรือไม่ก็ได้) การเลือก consumer unit ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต มาใช้งานให้พิจารณาจากจำนวนวงจรย่อยที่ต้องการและควรเผื่อไว้ 1-2 วงจรสำหรับโหลดในอนาคต การซื้อ consumer จะได้รับเพียงตัว consumer และเมนเบรคเกอร

จัดไฟในบ้านให้ถูกหลัก..ฮวงจุ้ย

 เพื่อนๆ หลายคนมองข้ามเรื่องการวางระบบไฟฟ้าภายในบ้าน และไม่ค่อยใส่ใจสักเท่าไหร่ ส่วนใหญ่จะยกให้เป็นหน้าที่ของช่างไฟ แต่ในทาง ฮวงจุ้ย เรื่องของไฟฟ้านั้นก็เป็นเรื่องที่สำคัญค่อนข้างมากเช่นเดียวกับการจัดฮวงจุ้ยในรูปแบบอื่นๆ เพราะ “แสงสว่าง” บ่งบอกถึงพลังชีวิต เป็นพลังหยางที่เคลื่อนไหว และนำโชคลาภมาสู่บ้าน การจัดระบบไฟฟ้าจึงควรควรเลือกตำแหน่งของ หลอดไฟ ให้ดี วันนี้จึงนำข้อมูลฮวงจุ้ยเรื่องการจัดวาง หลอดไฟ ในบ้าน มาฝากเพื่อนๆ กันค่ะ 1. ไฟหน้าประตูรั้ว ไฟหน้าประตูรั้ว : ควรมีหลอดไฟ 2 ดวงวางด้านข้างประตู เปิดทิ้งไว้ในเวลากลางคืนเพื่อดึงโชคลาภเข้าสู่บ้าน เหตุผลที่ต้องติดไฟ 2 ดวง ก็เพื่อให้เกิดความสมดุลนั่นเอง นอกจากนี้กรณีที่บริเวณตรงข้ามกับบ้านเป็นบ้านร้าง หรือที่รกร้าง ไฟหน้าบ้านจะช่วยแก้ไขเรื่องพลังหยินพิฆาตได้อย่างดีอีกด้วย 2. ไฟในห้องนอน ไฟในห้องนอน : ไม่ควรใช้ไฟประเภทหลอดเปลือยมองเห็นหลอดไฟ ควรจะเป็นไฟติดโคมที่กรองแสง หรือทำเพดานหลุมเพื่อซ่อนไฟเอาไว้ และห้ามวางตำแหน่งของดวงไฟตรงกับเตียงนอน เพราะแสงจะสว่างจนเกินไปทำให้รบกวนการนอน 3. ไฟห้องน้ำ ไฟห้องน้ำ : ควรใช้ไฟที่สว่าง เพราะห้องน