ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

หลอด LED กินไฟน้อยกว่าจริงหรือ


หลอดไฟ LED เริ่มเข้ามามีบทบาทในหลากหลายอุตสาหกรรม รวมไปถึงการกำเนิดแสงส่องสว่างภายในอาคารและบ้านเรือน ซึ่งข้อดีของหลอดไฟ LED นั้นมีมากมายจนไม่ควรที่มองข้าม ทั้งในแง่ประโยชน์ในการใช้งานและการประหยัดพลังงานที่ถูกพัฒนาขึ้นมาให้แทนที่เทคโนโลยีการให้แสงส่องสว่างแบบเดิมๆที่เราใช้กันอยู่ทั่วไป ถ้าคุณยังใหม่กับคำว่าแอลอีดีและลังเลที่จะทำความรู้จักกับ LED แล้วหละก็… ผมเชื่อว่าบทความนี้จะช่วยอธิบายให้คุณเข้าใจหลอด LED มากขึ้นจนคุณอาจจะอยากเปลี่ยนหลอดไฟในบ้านคุณให้กลายเป็นเทคโนโลยีใหม่อย่าง LED แน่นอนเลยหละ

 

อะไรคือหลอด LED
แอลอีดีคือไดโอดชนิดเปล่งแสง ไม่ได้มีรูปทรงแบบหลอด แต่เรียกนำหน้าชื่อว่า “หลอดแอลอีดี” อย่างที่เคยชินกับหลอดไฟประเภทเก่า เป็นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จำพวกสารกึ่งตัวนำรูปแบบไดโอด โดยปกติไอโอดเป็นชิ้นส่วนเพื่อออกแบบและควบคุมทิศทางการไหลของประจุไฟฟ้า แต่ด้วยความอเนกประสงค์ในโครงสร้างของไดโอด จึงทำให้ดัดแปลงใช้งานได้หลากหลายรูปแบบในโลกของวงจรอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการให้กำเนิดแสงสว่างด้วย จุดเด่นหลักคือการกำเนิดแสงในรูปแบบให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านสารกึ่งตัวนำ ต่างจากหลอดไส้หรือหลอดตะเกียบที่ใช้เทคนิคกำเนิดความร้อนเพื่อกระตุ้นก๊าซในหลอดแก้วหรือใช้การเผาไหม้ใส้ทังสเตนในหลอดเพื่อให้เกิดแสงสว่าง แอลอีดีจึงมีขนาดชิ้นส่วนที่เล็กมากกว่าหลอดไฟปกติมากๆ (เล็กสุดในระดับ 1 มิลลิเมตร) และอายุการใช้งานสูงกว่าเพราะความร้อนต่ำมาก

แอลอีดีถูกประดิษฐ์และนำมาใช้งานจริงใน ค.ศ. 1962 โดยบริษัท GE (General Electric) ช่วงแรกนั้นมักใช้เป็นตัวส่งแสงอินฟราเรดเพื่อการสื่อสารไร้สาย ดั่งที่พบเห็นได้ในรีโมตคอนโทรล หรือไฟแสดงสถานะในเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างเช่นนาฬิกาดิจิตอล เพราะข้อจำกัดในการกำเนิดแสงเฉดสีและของเทคโนโลยีแอลอีดีในสมัยนั้นค่อนข้างจำกัด

 

ใช้กับอะไรได้บ้าง ? และใช้ทดแทนอะไรได้บ้าง ?
ในปัจจุบัน แอลอีดีถูกพัฒนาอย่างมากจนสามารถใช้งานทดแทนไฟแสงสว่างแทบทุกรูปแบบที่เคยใช้กันมา หากท่านคิดว่าแอลอีดียังเป็นเรื่องไกลตัวที่ไม่ค่อยพบเห็นก็ไม่ถูกซะทีเดียวเพราะทุกวันนี้ไม่ว่าจะเป็นป้ายโฆษณา, ไฟจราจร, ไฟส่องสว่างบนถนน, ป้ายไฟ, ไฟตกแต่งอาคาร, ไฟรถยนต์, ไฟจักรยาน, หรือแม้กระทั่งไฟส่องสว่างหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์ในทุกวันนี้ก็ใช้หลอด LED ครับ… เห็นไหมว่า LED ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอย่างที่คิด !!!

ไฟส่องสว่างหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์ในทุกวันนี้ก็ใช้หลอดไฟ LED ครับ… เห็นไหมว่า LED ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอย่างที่คิด !!!

สำหรับการใช้งานทำหน้าที่ให้แสงส่องสว่างทดทนหลอดไฟแบบเดิมในอดีตนั้นอุตสหกรรมแอลอีดีก็ได้ผลิตสินค้าหลากหลายรูปแบบเพื่อใช้งานทดแทนหลอดไฟแบบเดิมแทบจะทุกรูปแบบที่มี ไม่ว่าจะเป็น Socket แบบ E27, หลอดฟลูออเรสเซนต์, หลอดนีออน ก็สามารถหาซื้อหลอด LED รูปแบบนั้นๆมาเสียบใช้ทดแทนภายในบ้านหรือสำนักงานได้ทันที โดยไม่ต้องเปลี่ยนโคมไฟหรือรางไฟแบบเดิมแต่อย่างใด วางแผนมาเพื่อทดแทนหลอดไฟแบบเดิมๆได้ลงตัวขนาดนี้แล้วเรามาดูกันดีกว่าว่าข้อดีของหลอดไฟ LED จะตรงตามความต้องการของคุณจนต้องไปหาหลอด LED มาแทนหลอดไฟแบบเดิมที่ใช้งานอยู่หรือไม่ ???

 

หลอดไฟแอลอีดีรูปแบบขั้ว E26/E27 ทรงเลียนแบบหลอดใส้ธรรมดาที่คุ้นเคย แต่ใช้พลาสติกแทนแก้ว ทนทานแม้จะเผลอทำตกพื้นก็ตาม

หลอดแอลอีดีทดแทนหลอดฟลูออเรสเซนต์ขั้วแบบ T8 โดยสามารถติดตั้งแต่ต่อไฟกับสวิทช์โดยตรง หรือใช้กับอุปกรณ์ทดแทนสตาร์ทเตอร์ในกรณีเปลี่ยนหลอดไฟจากรางเก่า

ไฟแอลอีดีสำหรับโคมไฟติดเพดา (โคมซาลาเปา) สำหรับทดแทนหลอดฟลูออเรสเซนต์แบบกลม ติดตั้งง่ายเพราะผู้ผลิสส่วนใหญ่ใช้แม่เหล็กในการยึดกับโคมไฟเดิม

 

หลอด LED ให้ความสว่างเท่ากันแต่กินไฟน้อยกว่า


ภาพเปรียบเทียบอัตราการกินไฟระหว่างหลอดแอลอีดี กับหลอดชนิดต่าง ๆ

มาเริ่มกันที่ประเด็นหลักของหัวข้อบทความนี้ของเรากันดีกว่า… “หลอด LED กินไฟน้อยลงแต่สว่างมากขึ้น จริงหรือ ???” ผมได้ลองทำตารางเปรียบเทียบอัตราการกินไฟของหลอดไฟชนิดต่างๆมาให้เห็นกันชัดๆดังภาพอธิบายด้านบน ที่เปรียบเทียบปริมาณการกินไฟของหลอดแต่ละชนิดที่ให้ความสว่างเท่ากันซึ่งพอจะสรุปได้คร่าวๆว่าแอลอีดีที่จำหน่ายตามท้องตลาด มีค่าวัตต์ความสว่างสูงเทียบเท่าหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์(หลอดตะเกียบ) และหลอดทังสเตน (หลอดไส้) ในปริมาณวัตต์ไฟฟ้าที่น้อยกว่าอย่างมีนัยยะสำคัญ ดั่งจะเห็นได้ชัดในแอลอีดี 18 วัตต์ ให้ค่าความสว่างเท่ากับหลอดไส้แบบ 180 วัตต์ กินไฟต่างกันถึง 10 เท่าเลยทีเดียว !!! (ในทางเทคนิค)

องศาของลำแสง (Beam Angle) ที่แคบกว่าหลอดแบบอื่นๆ
แสงส่องสว่างที่ออกจากหลอด LED จะมีลักษณะพุ่งตรงเป็นลำแสงไม่ค่อยมีการกระเจิงของแสง ทำให้แสงที่ได้จากหลอดไฟ LED นั้นจะครอบคลุมพื้นที่ไม่กว้างเท่าหลอดไฟแบบอื่นๆ แต่สำหรับการใช้งานที่ต้องการพื้นที่ความสว่างครอบคลุมในวงกว้างผู้ผลิตได้พัฒนาโดมครอบขึ้นมาเพื่อให้ทิศทางแสงของหลอด LED นั้นกระจายตัวเป็นวงกว้างได้ดียิ่งขึ้นแต่ก็คงต้องยอมรับว่าไม่สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างเท่ากับหลอดแบบฮาโลเจน, ฟลูออเรสเซนต์ หรือทังสเตน แต่ก็กลายเป็นข้อดีที่มีลักษณะเฉพาะตัวของหลอดไฟ LED สำหรับใช้ในงานที่ต้องการควบคุมทิศทางแสงเช่นกัน

 

ข้อดี/ข้อเสีย ของหลอด LED
ข้อดี :
ทนทานต่อการใช้งานมากเป็นพิเศษ แอลอีดีที่มีคุณภาพสูง มีอายุการใช้งานได้ยาวนานถึงประมาณ 10-20 ปี
อัตราการกินไฟต่ำมากเป็นพิเศษ แต่ได้ค่าความสว่างเท่าหลอดไฟแบบฟลูออเรสเซนต์ และหลอดทังสเตน(หลอดใส้) ซึ่งช่วยประหยัดไฟในระยะยาว
มีความร้อนค่อนข้างต่ำมากเป็นพิเศษ จึงไม่ทำให้ห้องและสภาพแวดล้อมนั้นเกิดความร้อนจากแสงไฟ ช่วยลดภาระของแอร์ในการทำความเย็นลงได้ ซึ่งเท่ากับประหยัดไฟไปได้อีกต่อหนึ่ง
ไม่ต้องเพิ่งพาบัลลาสต์และสตาร์ทเตอร์ในการติดตั้งใช้งาน แอลอีดีแบบใช้งานในบ้านส่วนมากสามารถต่อกับไฟบ้านได้โดยตรง ไม่มีการกระพริบ ไฟติดทันทีที่เปิด
ไดโอดเปล่งแสงมีขนาดเล็กทำให้สามารถนำไปประกอบให้มีรูปร่างที่แตกต่างกันออกไปได้ตามการใช้งาน
ไม่มีก๊าซพิษร้ายแรงเพื่อทำปฏิกิริยาทางไฟฟ้า และไม่มีส่วนประกอบของกระจก ปลอดภัยแม้ทำแตก หัก เสียหาย
ข้อเสีย :
ราคาต่อชิ้นค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับหลอดไฟแบบฟลูออเรสเซนต์ และหลอดทังสเตน
แอลอีดีส่วนใหญ่ ไม่สามารถใช้กับสวิตซ์หรี่แสง (Dimmer Switch) ได้
 

สรุป สว่างมากขึ้นแต่กินไฟน้อยลงจริง ???
ไม่เหนือความเป็นจริงแต่อย่างใดหากจะสรุปว่าหลอดไฟ LED ประหยัดไฟมากกว่าหลอดไฟรูปแบบต่างๆในอดีต เพิ่มเติมคือความทนทานและไม่ทำให้ห้องร้อนขึ้นอีกด้วย แม้เทคโนโลยีนี้จะมาพร้อมกับราคาค่าตัวที่สูงขึ้นก็ตามที แต่เมื่อมองในค่าใช้จ่ายระยะยาวแล้ว นี่เป็นเทคโนโลยีที่น่าลงทุนและสร้างประโยชน์ให้กับทั้งตัวคุณ และต่อสภาพแวดล้อมในอนาคตอย่างแน่นอน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สายไฟในบ้าน

สายไฟฟ้าในบ้าน สายไฟฟ้า(Cable wire) มีความสำคัญอย่างมากในการส่ง หรือจ่ายไฟฟ้าให้กับบ้านเรือน อุปกรณ์ไฟฟ้า หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านพักของคุณ ซึ่งมีความซับซ้อนอยู่พอสมควรหากคุณไม่ใช่ช่างฟ้าที่มีความรู้เรื่องนี้มากพอสมควร ดังนั้นการเลือกซื้อสายไฟฟ้าเพื่อมาติดตั้งในบ้านพักของประชาชนทั่วไปนั้น อาจจะทำให้ได้สายไฟฟ้าที่มีขนาดใหญ่เกินความจำเป็นสำหรับการส่งกระแสไฟฟ้าเพื่ออุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน หรือมีขนาดเล็กจนไม่สามารถทนกระแสที่มีมากกว่าความสามารถของสายไฟฟ้านั้นจะรับได้ และอาจจะเกิดความร้อนขึ้นที่สายไฟฟ้าจนทำให้ฉนวนที่หุ้มสายไฟฟ้าทั้ง 2เส้นนั้นละลายออก จากนั้นสายทองแดงหรืออลูมิเนียมจะเกิดการลัดวงจรเมื่อสัมผัสโดนกัน และเกิดประกายไฟที่อาจจะทำเกิดไฟไหม้ได้ สายไฟฟ้ามีหน้าที่สำหรับนำพลังงานไฟฟ้า จากแหล่งจ่ายไฟไปยังบริภัณฑ์หรือ ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าต่างๆ ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ผลิตสายไฟฟ้าขึ้นมากมายหลายชนิดตามความต้องการในรูปแบบต่างๆ เช่น สายไฟฟ้าเมนTHW สายเดี่ยวTHW สายไฟVCT สายไฟบ้านVAF สายไฟVSF สายไฟNYY สายไฟNYY-Ground สายไฟVAF-Ground สายไฟฟ้าบ้านปกติ สายไฟฟ้าฝังดิน สายไฟฟ้าอ่อนใช้ฝังดิน โดยผู้ใช้จะต้องพิ

CONSUMER UNIT  (ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต)

CONSUMER UNIT (ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต) "แผงจ่ายไฟฟ้าสำหรับที่อยู่อาศัย" เป็นแผงไฟฟ้าสำเร็จรูปนิยมใช้ในบ้านและหรือสำนักงานขนาดเล็กที่ใช้ไฟฟ้าระบบ 1 เฟส 220 โวลท์ มีลักษณะดังรูป Consumer Unit ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต ประกอบด้วยเมนเบรคเกอร์ (2 ขั้ว) และเบรคเกอร์ย่อย (1 ขั้ว) ที่เสียบต่ออยู่กับ bus bar มีขั้วต่อสายนิวทรอล และขั้วต่อสายกราวด์ ที่นิยมใช้ทั่วไปมีจำนวนวงจรย่อยตั้งแต่ 4-16 วงจรย่อย รูปด้านบนแสดงรายละเอียดภายในของ consumer unit ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต • หมายเลข1 = เมนเบรคเกอร์ 2 ขั้ว ให้เลือกขนาดตามมิเตอร์ของการไฟฟ้า (สูงสุดไม่เกิน 100 A) • หมายเลข2 = bus bar สำหรับวงจรขนาด 100 A • หมายเลข3 = Neutral Lug (N) • หมายเลข4 = Ground bar (G) • หมายเลข5 = miniature CB. แบบ 1 ขั้ว สำหรับวงจรย่อย • หมายเลข6 = Earth leakage miniature CB. แบบ 1 ขั้ว (เป็นเบรคเกอร์ชนิดกันไฟดูด อาจใช้หรือไม่ก็ได้) การเลือก consumer unit ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต มาใช้งานให้พิจารณาจากจำนวนวงจรย่อยที่ต้องการและควรเผื่อไว้ 1-2 วงจรสำหรับโหลดในอนาคต การซื้อ consumer จะได้รับเพียงตัว consumer และเมนเบรคเกอร

จัดไฟในบ้านให้ถูกหลัก..ฮวงจุ้ย

 เพื่อนๆ หลายคนมองข้ามเรื่องการวางระบบไฟฟ้าภายในบ้าน และไม่ค่อยใส่ใจสักเท่าไหร่ ส่วนใหญ่จะยกให้เป็นหน้าที่ของช่างไฟ แต่ในทาง ฮวงจุ้ย เรื่องของไฟฟ้านั้นก็เป็นเรื่องที่สำคัญค่อนข้างมากเช่นเดียวกับการจัดฮวงจุ้ยในรูปแบบอื่นๆ เพราะ “แสงสว่าง” บ่งบอกถึงพลังชีวิต เป็นพลังหยางที่เคลื่อนไหว และนำโชคลาภมาสู่บ้าน การจัดระบบไฟฟ้าจึงควรควรเลือกตำแหน่งของ หลอดไฟ ให้ดี วันนี้จึงนำข้อมูลฮวงจุ้ยเรื่องการจัดวาง หลอดไฟ ในบ้าน มาฝากเพื่อนๆ กันค่ะ 1. ไฟหน้าประตูรั้ว ไฟหน้าประตูรั้ว : ควรมีหลอดไฟ 2 ดวงวางด้านข้างประตู เปิดทิ้งไว้ในเวลากลางคืนเพื่อดึงโชคลาภเข้าสู่บ้าน เหตุผลที่ต้องติดไฟ 2 ดวง ก็เพื่อให้เกิดความสมดุลนั่นเอง นอกจากนี้กรณีที่บริเวณตรงข้ามกับบ้านเป็นบ้านร้าง หรือที่รกร้าง ไฟหน้าบ้านจะช่วยแก้ไขเรื่องพลังหยินพิฆาตได้อย่างดีอีกด้วย 2. ไฟในห้องนอน ไฟในห้องนอน : ไม่ควรใช้ไฟประเภทหลอดเปลือยมองเห็นหลอดไฟ ควรจะเป็นไฟติดโคมที่กรองแสง หรือทำเพดานหลุมเพื่อซ่อนไฟเอาไว้ และห้ามวางตำแหน่งของดวงไฟตรงกับเตียงนอน เพราะแสงจะสว่างจนเกินไปทำให้รบกวนการนอน 3. ไฟห้องน้ำ ไฟห้องน้ำ : ควรใช้ไฟที่สว่าง เพราะห้องน